ประกาศ :

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เทศบาลตำบลมะเขือแจ้ โทรศัพท์: 053-528200 053-528012 053-528320 โทรสาร: 053-528022 E-Mail: makhueajae@gmail.com

- ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไป 

1.1 ที่ตั้ง

          เทศบาลตำบลมะเขือแจ้ ตั้งอยู่เลขที่ 203 หมู่ที่ 20 ถนนลำพูน-บ้านธิ ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีระยะทางจากอำเภอเมืองลำพูนประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือ 70000 ไร่ หรือคิดเป็นร้อย 4 ของพื้นที่อำเภอเมืองลำพูนมีอาณาเขตกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้

 

   ทิศเหนือ            ติดตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

   ทิศใต้               ติดตำบลบ้านกลาง และตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

   ทิศตะวันออก       ติดตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 

   ทิศตะวันตก        ติดตำบลเหมืองง่า และตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

 

1.2 เนื้อที่        112  ตารางกิโลเมตร (70,000 ไร่)  (ข้อมูล ณ เดือน สิงหาคม 2565)

รายชื่อหมู่บ้าน

มีพื้นที่/กิโลตารางเมตร

จำนวนครัวเรือน

หมู่ที่ 0

-

2

หมู่ที่ 1 บ้านมะเขือแจ้

1,050,003

334

หมู่ที่ 2 บ้านสะแล่ง

6,037,674

314

หมู่ที่ 3 บ้านแจ่ม

1,569,650

490

หมู่ที่ 4 บ้านสันคะยอม

2,898,148

773

หมู่ที่ 5 บ้านเหมืองกวัก

3,801,379

473

หมู่ที่ 6 บ้านฮ่องกอม่วง

1,600,380

1,629

หมู่ที่ 7 บ้านสันป่าเหียง

4,614,506

608

หมู่ที่ 8 บ้านกิ่วมื่น

6,619,014

322

หมู่ที่ 9 บ้านป่าเป้า

880,395

345

หมู่ที่ 10 บ้านหนองหอย

40,687,387

247

หมู่ที่ 11 บ้านศรีดอนตัน

1,865,588

278

หมู่ที่ 12 บ้านเหล่า

16,407,708

365

หมู่ที่ 13 บ้านสันปูเลย

4,207,786

784

หมู่ที่ 14 บ้านป่าตึง

6,036,018

207

หมู่ที่ 15 บ้านหนองเหียง

2,932,730

373

หมู่ที่ 16 บ้านคอกวัว

2,093,709

115

หมู่ที่ 17 บ้านสันต้นผึ้ง

780,620

174

หมู่ที่ 18 บ้านใหม่ฝายหิน

845,717

227

หมู่ที่ 19 บ้านใหม่เหมืองกวัก

3,299,979

2748

หมู่ที่ 20 บ้านยี่ข้อ

250,170

154

หมู่ที่ 21 บ้านฮ่องกอม่วงสอง

2,528,477

447

รวมทั้งหมด

111,007,038

8,939

 

1.3 ภูมิประเทศ

ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาประมาณ 60% เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทางด้านตะวันตกเป็นที่ราบ ซึ่งเหมาะสำหรับการเกษตรและปศุสัตว์ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำกวง และลำน้ำแม่ตีบ พร้อมทั้งมีอ่างเก็บน้ำแม่ตีบมีความจุ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

1.4 จำนวนหมู่บ้าน 21 หมู่บ้าน (8,485 ครัวเรือน)

รายชื่อหมู่บ้าน

ชาย

หญิง

รวม

หมู่ที่ 0 มะเขือแจ้

583290

หมู่ที่ 1 บ้านมะเขือแจ้

357420777

หมู่ที่ 2 บ้านสะแล่ง

280322602

หมู่ที่ 3 บ้านแจ่ม

422544966

หมู่ที่ 4 บ้านสันคะยอม

7588531,611

หมู่ที่ 5 บ้านเหมืองกวัก711

462520982

หมู่ที่ 6 บ้านฮ่องกอม่วง320

1,0131,2142,227

หมู่ที่ 7 บ้านสันป่าเหียง297

7026921,394

หมู่ที่ 8 บ้านกิ่วมื่น

300304604

หมู่ที่ 9 บ้านป่าเป้า

286343629

หมู่ที่ 10 บ้านหนองหอย

219246465

หมู่ที่ 11 บ้านศรีดอนตัน

312352664

หมู่ที่ 12 บ้านเหล่า

312288600

หมู่ที่ 13 บ้านสันปูเลย

329374703

หมู่ที่ 14 บ้านป่าตึง

243256499

หมู่ที่ 15 บ้านหนองเหียง

323375698

หมู่ที่ 16 บ้านคอกวัว

156166322

หมู่ที่ 17 บ้านสันต้นผึ้ง

208206414

หมู่ที่ 18 บ้านใหม่ฝายหิน

184204388

หมู่ที่ 19 บ้านใหม่เหมืองกวัก

329329658

หมู่ที่ 20 บ้านยี่ข้อ

99130229

หมู่ที่ 21 บ้านฮ่องกอม่วงสอง

334326660

รวม

7,6868,49616,182

                                                      ข้อมูล ณ เดือน สิงหาคม  2565

 

1.5 ประชากร

ประชากรทั้งสิ้น 16,182 คน

- แยกเป็นชาย 7,686 คน

- แยกเป็นหญิง 8,496 คน

- จำนวนครัวเรือน 8,939 ครัวเรือน

(ข้อมูล ณ เดือน สิงหาคม 2565)

 

1.6 เขตการบริหาร

          ตำบลมะเขือแจ้ แบ่งการบริหารออกเป็น 2 เขต รวม 21 หมู่บ้าน เขต 1 จำนวน 10 หมู่บ้าน และเขต 2 จำนวน 11 หมู่บ้าน

เขต 1

เขต 2

หมู่ 3

บ้านแจ่ม

หมู่ 1

บ้านมะเขือแจ้

หมู่ 4

บ้านสันคะยอม

หมู่ 2

บ้านสะแล่ง

หมู่ 6

บ้านฮ่องกอม่วง

หมู่ 5

บ้านเหมืองกวัก

หมู่ 9

บ้านป่าเป้า

หมู่ 7

บ้านสันป่าเหียง

หมู่ 11

บ้านศรีดอนตัน

หมู่ 8

บ้านกิ่วมื่น

หมู่ 13

บ้านสันปูเลย

หมู่ 10

บ้านหนองหอย

หมู่ 15

บ้านหนองเหียง

หมู่ 12

บ้านเหล่า

หมู่ 16

บ้านคอกวัว

หมู่ 14

บ้านป่าตึง

หมู่ 20

บ้านยี่ข้อ

หมู่ 17

บ้านสันต้นผึ้ง

หมู่ 21

บ้านฮ่องกอม่วงสอง

หมู่ 18

บ้านใหม่ฝายหิน

 

หมู่ 19

บ้านใหม่เหมืองกวัก

 

2. สภาพเศรษฐกิจ

2.1 อาชีพ

- อาชีพในภาคเกษตรกรรม ได้แก่ การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ 30%

- อาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมในครัวเรือน หัตถกรรมจากไม้ ค้าขาย ช่างไม้และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม ร้านอาหาร บริษัทก่อสร้าง 60 %

- รับราชการ  10 %

 

2.2 วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์ ชาวบ้านตำบลมะเขือแจ้มีการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อก่อตั้งเป็นวิสาหกิจ/สหกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่

- กลุ่มแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ประชาชนในตำบลมะเขือแจ้ได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทองเนื่องมีขบวนการผลิตแบบครบวงจรที่ต้องชื่อเสียงระดับประเทศการันตีด้วยรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ผลิตภัณฑ์โอทอปดีเด่นระดับประเทศประเภทอาหารชนะเลิศรางวัลชนะเลิศรวมกลุ่มวิสาหกิจดีเด่นระดับภาคปี 2557 และ พ.ศ.2558 รางวัลชนะเลิศกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับประเทศปี 2557 และปี 2558 รางวัลชนะเลิศประกวดผลิตภัณฑ์ OTOP ดีเด่นของจังหวัดลำพูนรางวัลชนะเลิศแผนธุรกิจ OTOP ดีเด่นระดับประเทศ

- กลุ่มสหกรณ์หัตถกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ ประชาชนในตำบลมะเขือแจ้ จำนวน 8 หมู่บ้าน 500 ครัวเรือนประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นสิ่งประดิษฐ์จากไม้สืบทอดกันมาว่า 100 ปีแล้วโดยสร้างรายได้ให้ตำบลมะเขือแจ้ปีละกว่า 100 ล้านบาท

         

2.3 อุตสาหกรรมครัวเรือน

- ผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณ ปลย. สะแล่งโอสถ กิจการร้าน ปลย. สะแล่งโอสถทำการผลิตและปรุงยาสมุนไพรยาแผนโบราณจำหน่ายเครื่องนำมาทำผลิตนั้นได้ทำเอกสารเป็นออกแบบครัวเรือนเป็นแหล่งผลิตจำหน่ายยาสมุนไพรที่สืบทอดตำราจากบรรพบุรุษ

- วัวหันอินเตอร์/จระเข้หัน บ้านสันคะยอม หมู่ที่ 4 เป็นแหล่งผลิต/จำหน่ายวัวหัน ที่ขึ้นชื่อและจำหน่ายทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีเมนูจระเข้หันแห่งเดียวที่ส่งขายทั่วประเทศไทย

- เตาอบลำไย ตำบลมะเขือแจ้เป็นแหล่งที่มีการอบลำไยมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยเนื่องจากการสำรวจเมื่อปี 2558 พบว่ามีเตาอบลำไยที่ยังดำเนินอยู่จำนวน 279 เตา

- ไส้อั่วสมุนไพรหลวงรันต์ บ้านกิ่วมื่น หมู่ที่ 8 แหล่งผลิต/จำหน่ายไส้อั่วสมุนไพร OTOP 4 ดาว มีสูตรเฉพาะตัว เน้นไขมันน้อย สด สะอาด อร่อย ประกอบด้วยสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

 

2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลมะเขือแจ้

-  ธนาคาร                                               -           แห่ง

-  โรงแรม                                                -           แห่ง

-  ปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่                                 3          แห่ง

- บ.ควอลิตี้ออยล์ลำพูน จำกัด

- หจก.สุทธิเกียรติ เซอร์วิส

- หจก.พชรมณฑ์

-  ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก (ปั๊มหลอด             11      แห่ง

-  จำหน่ายขายปลีกแก๊ส                     20      แห่ง

-  โรงงานอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรม  22      แห่ง

-  โรงงานนอกเขตนิคมอุตสาหกรรม         32      แห่ง

-  ร้านอาหาร                                 15      แห่ง

-  โรงสี                                        6        แห่ง

-  ร้านค้าต่างๆ                                235     แห่ง

-  หอพัก/ อาคารพาณิชย์                    211     แห่ง

 

3. สภาพสังคม

3.1 การศึกษา

-  โรงเรียนประถมศึกษา                                         7        แห่ง

-  โรงเรียนมัธยมศึกษา                                          2        แห่ง

-  โรงเรียนเอกชน (ประถมศึกษา)                               1        แห่ง

-  โรงเรียนเอกชน (ก่อนประถมศึกษา)                          2        แห่ง

-  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดบ้านแจ่ม   3        แห่ง

-  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                            21      แห่ง

-  หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน                               21      แห่ง

 

3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา

- วัด / สำนักสงฆ์                                      23      แห่ง

- โบสถ์คริสต์                                  1        แห่ง

- มูลนิธิ                                        1        แห่ง

- มีสยิด                                        1        แห่ง

 

3.3 การสาธารณสุข

-  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล         1          แห่ง

-  ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                     2          แห่ง

-  ร้านขายยาแผนโบราณ                     5          แห่ง

-  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 %

 

3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

- ตำรวจชุมชนประจำตำบล (ตชด.)

- ศูนย์อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเทศบาล)

- หน่วย EMS (ทีมกู้ชีพ)

 

4. การบริการขั้นพื้นฐาน

4.1 การคมนาคม/การจราจร

     ถนนสายสำคัญที่เข้าสู่เข้าสู่พื้นที่ตั้งเป็นถนนสายหลักที่ใช้ในการสัญจรเชื่อมต่อกับตำบลใกล้เคียงมี 2 เส้นทางคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (เชียงใหม่-ลำปาง) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1147 (สันป่าฝ้าย-บ้านธิ )

 

4.2 การโทรคมนาคม

-  ที่การไปรษณีย์/โทรเลข          -         แห่ง

-  สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ          2        แห่ง

 

4.3 การไฟฟ้า (แสดงจำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงและจำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า)      100%

 

4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ

- ลำน้ำ,ลำห้วย                      3          แห่ง (ลำน้ำแม่ตีบ, แม่กวง,ลำห้วยเกวี๋ยน)

- บึง,หนองและอื่นๆ                 -           แห่ง

 

4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- ฝาย                      9          แห่ง

- บ่อน้ำตื้น                 2,069   แห่ง

- อ่างเก็บน้ำ               2          แห่ง (อ่างเก็บน้ำแม่ตีบและอ่างเก็บน้ำดอยขี้หม่าฟ้า)

- สระน้ำสาธารณะประโยชน์       29      แห่ง

 

4.6 แหล่งท่องเที่ยว        2        แห่ง

ตำบลมะเขือแจ้มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่

 

- ดอยขะม้อ ตั้งอยู่ ณ สำนักสงฆ์ดอยขะม้อ (บ่อน้ำทิพย์) หมู่ที่ 12 บ้านเหล่า ความสำคัญของดอยขะม้อ คือ เป็นที่ตั้งของบ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ในพิธีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจังหวัดลําพูนและเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 7 บ่อของประเทศไทยที่ใช้ในงานราชพิธีต่างๆ ตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน

- อ่างเก็บน้ำแม่ตีบ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองหอย หมู่ที่ 10  มีขนาดพื้นที่ชลประทานจำนวน 1,500 ไร่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีความสำคัญสำหรับชาวตำบลมะเขือแจ้ เนื่องจากเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรเป็นหลัก ก่อสร้างขึ้นตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประเภทพระราชดําริตรง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2528 ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2528 -2531 ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวนิยมเข้าไปพักผ่อนและตกปลาเนื่องจากมีทัศนียภาพที่สวยงามและล้อมรอบด้วยภูเขา

 

4.7 ­วัฒนธรรมประเพณี

          - ประเพณีตักน้ำทิพย์ดอยขะม้อ เป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดลำพูนควบคู่กับประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยในวันแปดเป็ง และถือเป็นประเพณีสำคัญของชาวตำบลมะเขือแจ้ ที่มีการสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ

          - ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เป็นประเพณีตามความเชื่อในวัฒนธรรมล้านนา แหล่งน้ำหรือแม่น้ำในแต่ละแห่งนั้น จะมีผีขุนน้ำที่คอยคุ้มครองและคอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์มาให้ การเลี้ยงผีขุนน้ำแสดงถึงการสำนึกในบุญคุณของแม่น้ำ เป็นประเพณีสำคัญที่ผูกพันกับการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง โดยเชื่อว่าการเลี้ยงผีขุนน้ำจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

          - ประเพณีบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีพิธีการบรรพชาหรือบวชเณรในช่วงฤดูร้อน นิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคมของทุกปี ในการบรรพชาเป็นสามเณรเป็นการศึกษาพุทธธรรมเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา ก่อนถึงวันส่างลองหนึ่งวัน เด็กผู้ชายที่เข้าร่วมต้องปลงผมและอาบน้ำ เจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆ อย่างอลังการ

- ตานก๋วยสลาก (สลากภัต) เป็นประเพณีที่แสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ก๋วยสลาก

 

5. ข้อมูลอื่นๆ

5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ (แสดงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตเทศบาล)

เนื่องจากพื้นที่ในเทศบาลตำบลมะเขือแจ้ ส่วนมากเป็นภูเขาและป่าไม้ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติที่พอจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ คือ หินลูกรัง ซึ่งสามารถหาได้จากพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมหรือที่สาธารณประโยชน์

 

5.2 ศักยภาพในตำบลมะเขือแจ้

- ศักยภาพของเทศบาลตำบลมะเขือแจ้

(1)

จำนวนบุคลากร จำนวน  191  คน

- ข้าราชการ                         54 คน

- หน่วยตรวจสอบภายใน         1 คน

- ลูกจ้างประจำ                     6  คน

- พนักงานจ้างตามภารกิจ          39  คน

- พนักงานจ้างทั่วไป                 21  คน

- พนักงานจ้างเหมาบริการ         63  คน

(ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565)

 

(2) ระดับการศึกษาของบุคลากร

 

ประเภท

จำนวน/คน

ป.โท

ป.ตรี

ปวส.

ปวช.

มัธยมปลาย

มัธยมต้น

ประถม   ตอนปลาย

ประถมตอนต้น

รวม

ข้าราชการ

44

17

21

2

 

 

 

 

 

 

 

สำนักปลัด

9

1

 

-

-

-

-

-

10

 

กองคลัง

1

5

-

-

-

-

-

-

6

 

กองช่าง

-

4

2

-

-

-

-

-

6

 

กองวิชาการและแผนงาน

2

4

 

-

-

-

-

-

5

 

กองสาธารณสุขฯ

1

2

-

-

-

-

-

-

3

 

กองการศึกษา

2

2

-

-

-

-

-

-

4

 

กองสวัสดิการฯ

2

4

-

-

-

-

-

-

6

ลูกจ้างประจำ

6

 

3

1

 

 

 

1

 

 

 

สำนักปลัด

-

2

1

 

 

 

1

 

4

 

กองคลัง

-

1

 

 

 

 

 

 

1

พนง.จ้างภารกิจ

21

1

9

4

1

3

 

 

 

 

 

สำนักปลัด

1

1

-

-

-

-

-

-

2

 

กองคลัง

-

2

-

1

-

-

-

-

3

 

กองช่าง

-

-

3

-

-

-

-

-

3

 

กองวิชาการและแผนงาน

-

2

-

-

-

-

-

-

2

 

กองสาธารณสุขฯ

-

4

-

-

1

-

 

-

5

 

กองการศึกษา

-

 

-

-

2

-

-

-

2

 

กองสวัสดิการฯ

-

-

1

-

-

-

-

-

1

พนง.จ้างทั่วไป

13

 

1

3

1

3

3

1

 

 

 

สำนักปลัด

-

-

1

1

1

-

-

-

3

 

กองคลัง

-

-

-

-

-

1

-

-

1

 

กองช่าง

-

-

2

 

1

1

-

-

4

 

กองวิชาการและแผนงาน

-

1

-

-

-

-

-

-

1

 

กองสาธารณสุขฯ

-

-

-

-

1

1

1

-

3

รวม

83

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                        (ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษจิกายน 2561)

 

(3) รายได้ของเทศบาล

           ประจำปีงบประมาณ  2560                         96,253,355.55 บาท  แยกเป็น

                     - รายได้ที่เทศบาลจัดเก็บเอง               10,929,209  บาท

                     - รายได้ที่ส่วนราชการต่างๆ จัดเก็บให้     43,870,760.95  บาท

                     - เงินอุดหนุนจากรัฐบาล                    41,453,385 บาท

                     (ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2560)

 

5.3 ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่

     1)  การรวมกลุ่มของประชาชน

          จำนวนกลุ่มทุกประเภท   75    กลุ่ม  แยกประเภทกลุ่ม

-  กลุ่มอาชีพ                        46      กลุ่ม

-  กลุ่มออมทรัพย์                  21      กลุ่ม

-  สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์      8        กลุ่ม

    

     2)  จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบเหมาะแก่การเกษตรและปศุสัตว์ และมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (ดอยขะม้อ) ซึ่งได้รับ การจัดให้เป็นสถานที่สำคัญ 1 ใน 7 ของประเทศที่นำน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ไปใช้ประกอบพิธีในโอกาสสำคัญต่างๆของจังหวัดและประเทศ มีอ่างเก็บน้ำแม่ตีบ ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ทำให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสความเป็นธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ตลอดทั้งมีสินค้าหัตถกรรมที่ผลิตจากไม้สักและวัสดุเหลือใช้สร้างชื่อเสียงให้กับตำบล ซึ่งในอนาคตจะได้พัฒนาให้เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมต่อไป

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
สถิติการเข้าชมเริ่มวันที่ วันนี้ เมื่อวานนี้ เดือนนี้ เดือนก่อน ปีนี้ ปีก่อน ทั้งหมด ไอพี ของคุณ
16/11/2021 1 3952 8410 13438 34874 108942 145535 3.238.118.27